ข่าวที่เกี่ยวข้อง ของ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก

โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ฐานปั้น "นักเทคโนโลยี" ระดับหัวกะทิของประเทศ

นโยบาย พัฒนาประเทศที่รัฐบาลให้ความสำคัญคือการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศโดย ใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและการลงทุน ในอดีตเราใช้ความได้เปรียบด้านค่าแรงถูก แต่ปัจจุบันในภาคอุตสาหกรรมของประชาคมโลกแข่งขันกันที่การมีฐานและทักษะความ ชำนาญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยในการดึงดูดการลงทุน ทำให้ประเทศไทยไม่สามารถอ้างข้อได้เปรียบด้านค่าแรงเป็นปัจจัยการแข่งขันอีก ต่อไป

"ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเพื่อเป็นฐานในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศด้านการลงทุน โดยเฉพาะการพัฒนากำลังคนระดับสูงด้านการค้นคว้าวิจัย ประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีและนวัตกรรมขึ้นมารองรับการแข่งขัน ซึ่งปัจจุบันประเทศยังขาดแคลนบุคลากรด้านนี้อีกมาก แต่สถาบันการศึกษาซึ่งมีหน้าที่ผลิตคนทางด้านนี้ยังไม่สามารถสนองตอบได้ เพราะยังแก้ปัญหาไม่ถูกจุดหรือ "เกาไม่ถูกที่คัน" เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรที่ผลิตได้เป็นผู้ที่มีความรู้ทางวิชาการ มากกว่าการเป็นนักปฏิบัติ ส่วนสายอาชีวะที่เน้นผลิตช่างฝีมือป้อนให้กับภาคอุตสาหกรรมก็ยังจะต้องได้ รับการส่งเสริมให้มีศักยภาพในการพัฒนาและต่อยอดช่างฝีมือที่มีคุณภาพให้เป็น "นักเทคโนโลยี" ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ ได้ โดยมีหลักสูตรเฉพาะรองรับ...."

"....ทางแก้คือการขยายฐานการ ศึกษาเพื่อสร้างนักเทคโนโลยีที่สามารถผสมผสานวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีเข้ากับทักษะทางด้านช่าง เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่จะนำไปสู่การยกระดับความสามารถทางด้านเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในด้านการแข่งขันให้กับประเทศ ซึ่งเป็นที่มาของการจัดตั้ง "โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์" โดยความร่วมมือของหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม และมหาวิทยาลัยของรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เพื่อพัฒนาผู้ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีและการ สร้างสรรค์นวัตกรรมให้เป็นนักเทคโนโลยีที่เป็นทั้งนักคิดและนักปฏิบัติที่มี ความเชี่ยวชาญทั้งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์..."

นางสาวนริศ รา ชวาลตันพิพัทธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งดูแลงานด้านนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พูดถึงยุทธศาสตร์ การผลิตกำลังคนเพื่อช่วยขับเคลื่อนประเทศ

โครงการ นี้นอกจากเป็นฐานการผลิตคนเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นนักเทคโนโลยีแล้ว ยังมีเป้าหมายเพื่อยกระดับมาตรฐานสถานศึกษาสังกัด สอศ.ให้เป็นแหล่งผลิตนักเทคโนโลยี รวมถึงการสร้างเครือข่ายระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับภาคอุตสาหกรรมและสถาบัน วิจัยเพื่อให้เกิดการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี โดย สอศ.เป็นผู้จัดหาสถานศึกษาในสังกัดที่มีความพร้อมมาร่วมโครงการ จัดทำหลักสูตรการสอน จัดหาครูผู้สอนร่วมกับมหาวิทยทาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนสถาบันอุดมศึกษาในความร่วมมือจะจัดทำหลักสูตรอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับ การเรียนการสอนของโรงเรียน และรับผู้สำเร็จการศึกษาในโครงการให้เข้าศึกษาต่อตามหลักสูตรการสร้างนัก เทคโนโลยี ส่วน สวทช.สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน กิจกรรมการวิจัยและพัฒนาครู รวมถึงการสนับสนุนทุนศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ด้านกระทรวงอุตสาหกรรมมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัด เช่น การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยสนับสนุนการฝึกงานในสถานประกอบการ นับเป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการผลิตกำลัง คนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศอย่างครบถ้วนกระบวนการ

เรียนรู้วิทยาศาสตร์-เทคโนโลยีแบบบูรณการปั้นนักเทคโนโลยี ผ่าน Project Based Learning

โรงเรียน เทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (Science-Based Technology School) เป็นโครงการนำร่องที่จัดตั้งขึ้นในวิทยาลัยการอาชีพพานทอง สังกัด สอศ. จัดการศึกษาในระดับปวช. รูปแบบโรงเรียนประจำแบบเดียวกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยรับนักเรียนชั้น ม.3 ที่มีความสามารถพิเศษทางการประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีเข้ามาเรียน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมของผู้เรียนและกระตุ้นให้ เกิดการเรียนรู้และความสนใจที่จะพัฒนาตนเองสู่การเป็น "นักเทคโนโลยี" ในอนาคต โดยคัดเลือกนักเรียนที่มีผลการเรียนในระดับดีหรือเด็กเก่งจากโรงเรียนมัธยม ทั่วประเทศ ผ่านการวัดความถนัดทางด้านการประดิษฐ์คิดค้น มีผลงานหรือประสบการณ์ด้านการคิดโครงการและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นทั้งจากโรงเรียนและเวที กิจกรรมต่างๆ เช่น ค่ายวิทยาศาสตร์ การจัดประกวดโครงงาน/สิ่งประดิษฐ์ การทดสอบความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

การจัด หลักสูตร การเรียนการสอน เป็นการผสมผสานระหว่างการเรียนแบบรู้ลึกในเชิงวิชาการและการฝึกทักษะวิชาชีพ ในระบบการเรียนของอาชีวศึกษาอย่างเข้มข้น เพื่อให้มีพื้นฐานความรู้ทางด้านเทคโนโลยี อาทิ เครื่องกล ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และลงมือปฏิบัติจริง โดยนำความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาผ่านการทำโครงงาน หรือ Project-based learning โดยการสอนจะมีครูพี่เลี้ยงที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้านช่วยสนับสนุนให้ นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง มีอาจารย์พิเศษจากมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยในความร่วมมือและผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรมมาร่วมสอนและให้คำ ปรึกษาด้านการจัดการเรียนการสอน และช่วยเสริมทักษะและความคุ้นเคยกับโจทย์และปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในภาค อุตสาหกรรม

นอกจากการเรียนในห้องเรียนแล้ว นักเรียนยังได้ไปทัศนศึกษาและดูงานในสถานประกอบการเพื่อสัมผัสและเรียนรู้ การทำงานจริงในภาคการผลิตและบริการเพื่อจุดประกายการเรียนรู้และต่อยอดความ รู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะนำไปสู่การสร้างเทคโนโลยีและการประดิษฐ์ คิดค้นในอนาคต ดังนั้นนักเรียนที่จบจากโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์จะเป็นผู้ที่มีฐาน ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้มข้น พร้อมกับทักษะพื้นฐานด้านเทคโนโลยีที่เพียงพอจะต่อยอดในระดับอุดมศึกษาใน มหาวิทยาลัยในความร่วมมือทั้ง 4 แห่ง และขณะนี้ สอศ.กำลังเร่งจัดทำหลักสูตรพิเศษในระดับ ปวส. และปริญญาตรีต่อเนื่อง เพื่อรองรับการศึกษาต่อซึ่งจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของนักเรียนกลุ่มนี้

โรงเรียน เทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ได้เปิดสอนและรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2551 มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการจำนวน 29 คน และในปีการศึกษา 2552 นี้ มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการ 30 คน โดยนักเรียนของโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ทุกคนจะต้องพักอาศัยอยู่ภาย ในโรงเรียน ซึ่งจัดสิ่งอำนวยความสะดวกด้านที่พัก และครูพี่เลี้ยงคอยดูแลและเป็นที่ปรึกษาตลอดเวลา ที่สำคัญการใช้ชีวิตในรูปแบบของโรงเรียนประจำจะทำให้นักเรียนทุกคนได้เรียน รู้การอยู่ร่วมกัน เช่น กิจกรรมทางวิชาการเสริมการเรียนรู้ในห้องเรียน ตลอดจนกิจกรรมที่มุ่งปลูกฝังด้านคุณธรรมจริยธรรมที่จะบ่มเพาะให้นักเรียนทุก คนเป็นผู้ที่ถึงพร้อมทั้งด้านความรู้และคุณธรรมจริยธรรม

นาย เฉลียว อยู่สีมารักษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า โครงการนี้เกิดขึ้นได้เพราะความร่วมมือของทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้บริหาร คณาจารย์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ รวมทั้งสถานประกอบการต่างๆ จากที่ได้พบปะนักศึกษารุ่นแรกและผู้บริหารโรงเรียน เห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีโดยเฉพาะการจัดการเรียนการสอน สิ่งที่นักศึกษาจะได้จากการเข้ามาเรียนที่นี่ อย่างแรกคือ ความรู้จากครู วิทยากร และคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยที่สอนด้านนี้โดยเฉพาะ เชื่อว่าโรงเรียนมัธยมดังๆ ไม่มีโอกาสอย่างนี้ อย่างที่สองคือการจัดการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษาได้ค้นหาความต้องการและ ความสามารถของตนเอง ไม่ถูกเก็บหรือถูกบล็อกความคิดจากครูผู้สอน เรียนที่นี่ความคิดของนักศึกษาไม่ผิด มีแต่ว่าของใครสมบูรณ์ที่สุด ส่วนที่ขาดครูจะคอยแต่งเติมให้ ถ้าตั้งใจเรียนจริง ก็ไม่ต้องห่วงว่าจะเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ ไม่ได้

ศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ที่ปรึกษาโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ กล่าวว่าคนไทยยังเข้าใจระบบอาชีวศึกษาผิดอยู่มาก เด็กยังนิยมเรียนต่อสายสามัญมากกว่าอาชีวะ ในขณะที่ต่างประเทศอย่างสวิสเซอร์แลนด์มีคนเรียนสายอาชีวะถึง 70% มีเพียง 30% เท่านั้นที่เรียนสายสามัญเพราะอาชีวะสามารถเข้าสู่อาชีพได้ตรงกว่า

โครงการนี้ถูกคาดหวังว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนของการศึกษา นักเรียนรุ่นแรกๆ ของโครงการเปรียบเหมือนหัวรถจักรที่จะลากจูงนักเรียนรุ่นต่อๆ ไป ได้มาเรียนในสิ่งที่ตนเองชอบและสนใจไม่อยากเห็นเด็กที่มีความสามารถด้านช่าง ไปเรียรนสายสามัญ ซึ่งจะทำให้ความสามารถพิเศษที่เด็กเหล่านี้มีถูกบดบังหรือถูกกลืนไป และการลงทุนด้านการศึกษาก็จะไม่สูญเปล่า จบแล้วถ้าอยากจะเรียนต่อด้านเทคโนโลยีในระดับสูงขึ้นไปก็จะมีสถาบันอุดม ศึกษารองรับให้เดินต่อไปได้

โครงการนี้เป้าหมายไม่ใช่แต่ปริญญาบัตร แต่เราต้องการบ่มเพาะคนไปสร้างเทคโนโลยี เพราะทุกวันนี้ประเทศต้องสูญเสียงบประมาณซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศปีละนับ แสนล้านบาท จึงหวังว่าต่อไปกำลังคนเหล่านี้จะมีส่วนช่วยให้ประเทศสามารถพึ่งพาเทคโนโลยี และสามารถส่งออกทางด้านเทคโนโลยีได้ ถ้านักศึกษารุ่นแรกๆ ทำได้ดี ได้ผลตามเจตนารมณ์ที่วางไว้ก็จะได้ขยายผลต่อไป และอยากจะฝากถึงพ่อแม่ผู้ปกครองว่าเด็กจะเก่งได้อยู่ที่การเลี้ยงดูและบ่ม เพาะจากพ่อแม่ให้เขาได้พัฒนาความสามารถตามศักยภาพ คนที่ชอบประดิษฐ์คิดค้นนั้นเริ่มฉายแววมาตั้งแต่เด็ก ถ้าพ่อแม่ไม่เข้าใจและไม่ฟูมฟักศักยภาพพิเศษที่มีอยู่ในตัวเด็ก ความสามารถที่มีก็จะถูกข่มไว้และก็หายไปในที่สุด

ที่มา หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552


โครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์

จากกระแสโลกาภิวัตน์และการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่จะเป็นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ หากแต่ฐานการศึกษาของไทย ที่มีหน้าที่ผลิตกำลังคน ยังไม่สามารถตอบสนองได้ โดยในระบบการศึกษาของไทยนั้น หากผลิตบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ ก็จะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านวิชาการเด่น แต่ด้อยทางการปฏิบัติ ตรงกันข้ามหากผลิตบุคลากรทางด้านช่างฝีมือ ก็จะเป็นผู้ที่มีความรู้ทักษะทางด้านปฏิบัติแต่ด้อยทางด้านวิชาการ ไม่สามารถต่อยอดในการเรียนรู้ที่สูงขึ้นไปได้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งภาคปฏิบัติและภาคทฤษฎีไปพร้อม ๆ กัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ ป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนภาคเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวทันในระดับสากลทางกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เห็นช่องโหว่ในการศึกษาดังกล่าวจึงหารือและปรับนโยบาย ขยายฐานการศึกษา มุ่งเน้นผลิตคนให้มีความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ และทักษะฝีมือทางด้านการช่าง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อสร้างเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีในแขนงต่างๆที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในอนาคต จึงเกิดเป็น "โครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์" ขึ้นภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงมหาวิทยาลัยเครือข่ายในแต่ละภูมิภาค ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคสุรนารี จ.นครราชสีมาเปิดสอนสาขาช่างอุตสาหกรรม วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูนจ.ลำพูน เปิดสอนสาขาเกษตรกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี จ.สิงห์บุรี เปิดสอนสาขาคหกรรม วิทยาลัยเทคนิคพังงา จ.พังงาเปิดสอนสาขาเทคโนโลยีการท่องเที่ยว ซึ่งมีการจัดการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) โดยการจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบ Project Based Learning โดยบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้ากับทักษะวิชาชีพ บ่มเพาะให้นักเรียนมีความสามารถในการประดิษฐ์และคิดค้นเชิงเทคโนโลยี ทั้งยังมีการนำผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรม และอาจารย์จากมหาวิทยาลัย มาช่วยสอนและให้คำแนะนำ เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับโจทย์และปัญหาจริงในภาคอุตสาหกรรม โดยมีครูพี่เลี้ยงดูแลอย่างใกล้ชิด ในลักษณะโรงเรียนประจำดังนั้น เมื่อนักเรียนในโครงการเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์จบแล้วจะเป็นผู้ที่มีทักษะทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติอย่างเข้มข้น และยังมีทักษะพื้นฐานพอที่จะต่อยอดในการเรียนเมื่อเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาอีกด้วย ส่วนเกณฑ์การคัดเลือกนักเรียนเพื่อเข้าศึกษานั้น นายชัยพฤกษ์เสรีรักษ์เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เล่าว่าจะเริ่มจากการคัดเลือกนักเรียนในช่วงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เข้ามาศึกษาต่อสายอาชีวะ โดยดูจากผลการเรียน ซึ่งเกรดขั้นต่ำต้อง 2.5 ขึ้นไป แล้วจะมีการวัดแววในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ อาจจะเป็นการเข้าค่ายเพื่อคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถหรือสนใจทางด้านประดิษฐ์คิดค้นเชิงเทคโนโลยีเป็นพิเศษนายนนท์ เป็งวงศ์จากวิทยาลัยเทคนิคสุรนารี ครูประจำที่ดูแลเด็กโครงการนี้ เล่าให้ฟังว่า การดูแลเด็กๆ ในโครงการ จะพิเศษกว่าเด็กทั่วๆ ไปเพราะต้องดูแลทั้ง 24 ชั่วโมง ตั้งแต่ในเวลาเรียนปกติจนถึงหลังเลิกเรียน จึงต้องหากิจกรรม เช่น เล่นกีฬา เรียนเสริมเพราะเป็นโรงเรียนประจำ และจะช่วยเสริมในส่วนที่ขาดตกบกพร่องเช่นพัฒนาการด้านการเข้าสังคม ความคิด ความรับผิดชอบ โดยจะจัดการอบรมต่างๆ ให้เด็กนักเรียน ถึงแม้ว่าจะเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ตนเอง แต่เมื่อเห็นนักเรียนมีความตั้งใจจริง ก็กลายเป็นแรงผลักดันให้ความรู้แก่เด็กอย่างเต็มที่ด้าน นายเจษฎา ตั้งมงคลสุขนักเรียนในโรงเรียนฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) นักศึกษารุ่นแรกๆ เล่าให้ฟังถึงการเข้ามาในโครงการนี้ว่า ได้ทราบโครงการนี้จากอาจารย์ที่ปรึกษา จึงได้ไปค้นข้อมูล พบว่า โครงการนี้มีความแตกต่างจากสายอาชีวะ และสายสามัญ เพราะจะมีทั้งการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานอย่างสายสามัญและการลงมือปฏิบัติจริงอย่างสายอาชีวะ โดยเน้นสอนให้คิดเป็น ทำเป็น ซึ่งในอนาคตการตลาดในภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยต้องการคนจำพวกนี้อย่างมากส่วน นายบัญชา พันหมื่นกาศจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี(ลำพูน) หนึ่งในนักเรียนโครงการฐานวิทยาศาสตร์ เล่าถึงการเข้ามาเรียนต่อในสายนี้ว่า ตนอยากเป็นนักวิจัย เพราะสนใจด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การตัดต่อยีนพันธุ์พืช ที่ตัดสินใจเลือกเรียนที่วิทยาลัยนี้ เพราะได้เรียนรู้จริงและได้ลงมือปฏิบัติจริงนอกจากนี้ นักศึกษาจากโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(พังงา) สาขาเทคโนโลยีการท่องเที่ยว นายศุภวิชญ์ คล้ายวรรณเล่าว่า การเข้ามาเรียนที่นี่ เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะได้เรียนรู้ทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติ เสมือนเป็นการเรียนไปด้วย ทำงานไปด้วย อีกทั้งยังมีการส่งเสริมภาษาที่ 3 อย่างเช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่นอีกด้วยในอนาคตอันใกล้ คงจะได้เห็นน้อง ๆ จากโครงการโรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมใหม่ๆมาช่วยพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มภาคภูมิ

ที่มา: ปวีณาล.สุวรัตน์. หนังสือพิมพ์มติชน. ฉบับวันที่ 3 มกราคม 2555


แหล่งที่มา

WikiPedia: วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก http://social.eduzones.com/nuihappy/6986 http://www.electron.rmutphysics.com/teaching-gloss... http://www.mwit.ac.th/webboardnew/viewtopic.php?t=... http://www.sbtvc.ac.th/ http://www.sbtvc.ac.th http://boc.vec.go.th/datas/open.php?id=00058 http://portal.in.th/scitalk/pages/122/ https://www.facebook.com/sciencebasedtechnology https://www.youtube.com/watch?v=Nme9fAEnESY